การทำงานด้านบริการจะเกี่ยวข้องกับซึ่งอาจเป็นชาวต่างประเทศหลากหลายเชื้อชาติเข้าใจนิสัยใจคอและความคิดความรู้สึกของลูกค้าแต่ละคนแต่ละกลุ่มย่อมเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการให้บริการแก่ลูกค้าได้อย่างเหมาะสม ทำให้ถูกใจลูกค้า ปัจจัยความแตกต่างระหว่างบุคคลส่วนใหญ่เกิดจากวัฒนธรรมศาสนา ภาษา ลักษณะและนิสัยของคนแต่ละชาติจะมีวัฒนธรรมของแต่ละชาติเป็นสิ่งที่สะท้อนพฤติกรรมของผู้ใช้บริการการวิเคราะห์ลูกค้าที่มาใช้บริการของโรงแรมและการท่องเที่ยวได้สามารถพิจารณาจากปัจจัยหลายอย่างรวมกันได้แก่สัญชาติลักษณะนิสัยการแต่งตัวดังรายละเอียดต่อไปนี้
การศึกษาลักษณะนิสัยและพฤติกรรมของผู้ใช้บริการ
การศึกษาลักษณะนิสัยและพฤติกรรมของผู้ใช้บริการและเสริมสร้างบุคลิกภาพของตนเองและองค์กรสื่อสารให้เหมาะสมกับกลุ่มผู้ใช้บริการแต่ละกลุ่มได้แก่
1.การรับนวัตกรรมของผู้ใช้บริการ ผู้ใช้บริการที่รับเข้าวัตกรรมเป็นผู้ใช้บริการบางคนบางกลุ่มที่ให้ความสนใจและพร้อมจะตัดสินใจเลือกรับบริการที่มีความแปลกใหม่บริการที่เป็นนวัตกรรมขององค์การธุรกิจบริการได้อย่างรวดเร็วผู้ใช้บริการกลุ่มนี้จะมีลักษณะนิสัยการยึดถือตนเองเป็นผู้มีคุณสมบัติทางสังคมชอบแสวงหาความหลากหลายและความแปลกใหม่ในรูปลักษณ์ทางกายภาพรวมถึงคุณค่าทางอารมณ์และความรู้สึกจากการเลือกรับบริการที่เป็นนวัตกรรมของวงการธุรกิจบริหารจึงควรได้รับ การกระตุ้นในระดับที่เหมาะสมเช่นผู้ใช้บริการที่ได้รับข้อมูลข่าวสารเรื่องการบินไทยได้นำเครื่องบิน Boeing 787-8 dreamliner รุ่นใหม่ล่าสุดมาให้บริการผู้ใช้บริการที่สนใจนวัตกรรมใหม่จะพยายามมองหาช่องทางการติดต่อสื่อสารหาข้อมูลในเรื่องเครื่องบินรุ่นนี้จนมั่นใจและทราบว่าเป็นเครื่องบินขนาดกลางลำตัวกว้างที่ใช้เทคโนโลยีใหม่ที่สุดของ Boeing ผู้ใช้บริการกลุ่มนี้พร้อมทั้งยื่นความจำเข้าใช้บริการเป็นกลุ่มแรกๆแต่ผู้ใช้บริการที่มีพฤติกรรมที่ตรงข้ามวิธีการสื่อสารที่มากกว่าปกติรวมทั้งต้องสร้างบุคลิกภาพของผู้ให้บริการที่ดูทันสมัยแตกต่างกว่าปกติเช่นรถไฟรุ่นใหม่ที่เปิดให้บริการ 4 เส้นทางคือรถไฟด่วนอุตราวิถี รถด่วนพิเศษอีสานวัฒนา อีสานมรรคา และทักษิณารัถย์ ซึ่งให้บริการเฉพาะตู้นอน เหมือนโรงแรมเคลื่อนที่สิ่งอำนวยความสะดวกมากมาย รถไฟรุ่นนี้จะมีทั้งรูปแบบรถที่แตกต่าง ชื่อรถไฟรูปลักษณ์และวิธีการให้บริการเป็นต้น
รูปที่ 5.1 รถด่วนอุตราวิถี
2 การยึดถือตนเอง(Dogmatism) เป็นลักษณะนิสัยของบุคคลที่มีระดับการเปิดใจต่อสิ่งที่ไม่คุ้นเคยใช้บริการที่ยึดถือตนเองมากจะต่อต้านสิ่งที่มีความไม่แน่นอนและสิ่งที่เป็นเกณฑ์มาตรฐานในการตัดสินใจซึ่งไม่เปิดรับสิ่งที่ไม่คุ้นเคยผู้ใช้บริการพรุ่งนี้มีแนวโน้มที่จะรับข้อมูลจากโฆษณาและจากผู้ที่คุ้นเคยหรืออำนาจเพื่อความไม่แน่นอนดังนั้นการกล่าวอ้างถึงบุคคลมีอิทธิพลจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งในการส่งมอบบริการแก่ผู้ใช้บริการพรุ่งนี้ส่วนผู้ใช้บริการที่ยึดถือตนเองน้อยพร้อมที่จะเปิดใจพิจารณาสิ่งที่ไม่คุ้นเคยและขัดต่อความเชื่อของตนเองได้จึงมีแนวโน้มในการรับสินค้าใหม่ได้ง่ายซึ่งกิจการและผู้ให้บริการจึงสามารถศึกษาด้านคุณสมบัติของบริการในใหม่ๆแบบตรงไปตรงมาได้
3 คุณสมบัติทางสังคม (Social Character)เป็นกลุ่มบุคลิกภาพของผู้ใช้บริการในด้านการได้รับอิทธิพลทางสังคมมี 2 กลุ่ม คือผู้ใช้บริการที่มีบุคลิกภาพกำหนดทิศทางจากภายใน (Inner-directedness)มีแนวโน้มที่จะพิจารณาสินค้าและบริการใหม่ๆโดยใช้มาตรฐานภายในผู้ใช้บริการเป็นเกณฑ์ในการตัดสินใจแต่สำหรับผู้ใช้บริการที่มีบุคลิกภาพกำหนดทิศทางจากภายนอก (Other-directedness) จะเป็นผู้ที่ไม่อยากรับสินค้าและบริการใหม่ๆในทันทีต้องรอดูผลการใช้สินค้าใหม่จากผู้บริโภคคนอื่นเพื่อประเมินทิศทางก่อนเช่น ตราสินค้า โลโก้และข่าวสารที่ได้รับจากสื่อสารมวลชนการเสนอความคิดเห็นของการใช้บริการของโรงแรมในเว็บไซต์ต่างๆของผู้ใช้บริการก่อนหน้า นี้จะมีผลอย่างยิ่งต่อการตัดสินใจเลือกรับบริการใหม่ๆของผู้ใช้บริการกลุ่มนี้
รูปที่ 5.2 ตัวอย่างผู้ให้บริการ Social Networks
4.ระดับการกระตุ้นที่เหมาะสม(Optimum Stimulation Level : OSL) จะทำให้เกิดการยอมรับ สินค้าและบริการใหม่ๆที่เป็นนวัตกรรมการบริการใหม่ๆสำหรับผู้ใช้บริการที่มีบุคลิกภาพยอมรับระดับการกระตุ้นที่เหมาะสมสูง(High OSL) จะมีแนวโน้มที่จะยอมรับบริการนวัตกรรม มีความเต็มใจที่จะเสี่ยงมากกว่า ส่วนผู้ใช้บริการที่มีบุคลิกภาพแบบระดับการกระตุ้นที่เหมาะสมต่ำ(Low OSL) ทำให้สามารถใช้ระดับการกระตุ้นที่เหมาะสมกับการใช้รูปแบบการดำเนินชีวิต(Lifestyle) ในด้านรูปแบบและวิธีการสื่อสารให้เหมาะสมกับผู้ใช้บริการกลุ่มเป้าหมายเช่นการสื่อสารด้วยภาพและข้อความผ่านSocial Networks ทั้ง LINE ,Facebook ,Twitter ,Instagram และ email address ผู้ใช้บริการเป็นต้น
5 แสวงหาความหลากหลายและความแปลกใหม่(Variety-Novelty Seeking)เป็นลักษณะของผู้มีบุคลิกภาพที่แสวงหาความหลากหลายและความแปลกใหม่เช่นพฤติกรรมการรับบริการเชิงสำรวจ (Exploratory Service Behavior) เช่น ชอบทดลองท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยวใหม่ๆเพื่อจะได้รู้ถึงความแตกต่างจากแหล่งท่องเที่ยวอื่น
6 พฤติกรรมสำรวจเชิงประสบการณ์จากจินตนาการ (Vicarious Exploration)เป็นลักษณะของผู้ใช้บริการที่มีพฤติกรรมในการศึกษาข้อมูลจากแหล่งต่างๆให้มากที่สุดเช่นจากเพื่อนจากการอ่านหรือจากการไปอยู่ในสภาพแวดล้อมจริงเพื่อให้ได้ข้อมูลมากที่สุดต่อการตัดสินใจทำให้เกิดประสบการณ์ของบริการนั้นในจินตนาการ
การศึกษาบุคลิกภาพเชิงความคิดต่องานบริการ (Cognitive Personality Factors Towards Service)
นักวิจัยทางด้านพฤติกรรมผู้ใช้บริการได้ศึกษาปัจจัยทางบุคลิกภาพเชิงความคิดที่มีอิทธิพลต่อ
พฤติกรรมของผู้ใช้บริการ โดย Kumar (2009, pp. 171-172) ระบุว่าลักษณะนิสัยของบุคลิกภาพ
เกี่ยวข้องกับกระบวนการด้านความคิดที่สำคัญ ดังนี้
1. ความต้องการที่จะรับรู้(Need for Cognition) บุคลิกภาพแบบนี้อยู่ภายใต้พื้นฐานของ
พฤติกรรมผู้ใช้บริการที่มีความสุขที่ได้รับรู้ เรียนรู้และคิด ผู้ใช้บริการที่มีความต้องการรับรู้มาก ๆ (High in
NC) มีแนวโน้มที่จะชอบรูปแบบการสื่อสารและงานประชาสัมพันธ์งานบริการที่มีข้อมูลมาก ๆ เพื่อที่จะ
ได้มีความสุขกับความคิด ส่วนผู้ใช้บริการที่มีความต้องการที่จะคิดน้อย ๆ (Low in NC) จะชอบรูปแบบ
การสื่อสารและงานประชาสัมพันธ์งานบริการที่มีความสวยงามด้วยภาพ มีดารา หรือผู้มีชื่อเสียงประกอบ
ในสื่อ
2. นักชมและนักอ่าน (Visualizers and Verbalizers) นักวิจัยด้านความคิดแบ่งผู้ใช้บริการ
เป็น 2 กลุ่ม คือ ผู้ใช้บริการที่ชอบชมสิ่งสวยงาม (Visualizers) จะชอบสินค้าและบริการที่เน้นการชม เช่น
สถาปัตยกรรม ศิลปกรรมที่มีความวิจิตรและฝีมือในการประดิษฐ์สรรสร้างด้วยภูมิปัญญาของช่างฝีมือ ใน
งานนิทรรศการศิลป์แผ่นดิน โดยสถาบันสิริกิติ์ ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม และผู้บริโภคอีกกลุ่มหนึ่ง
คือ ผู้ใช้บริการที่ชอบอ่านหรือฟัง (Verbalizers) จะชอบบริการที่เน้นการฟัง เช่น สุนทรียภาพของเสียง
และถ้อยทำ นองของการสนทนาของผู้ให้บริการ
3. การรับบริการแบบเจาะจง เป็นพฤติกรรมของผู้ใช้บริการที่มีบุคลิกภาพในการรับบริการ
แบบเจาะจง มีส่วนที่คล้ายกับผู้ใช้บริการด้านวัตถุนิยม คือ เน้นที่การมีความสุขในการรับบริการต่างกัน
ที่ผู้ใช้บริการแบบเจาะจงจะซื้อเฉพาะสินค้าและบริการที่ตนเองมีความสนใจเป็นพิเศษเพียงบางอย่าง
เป็นการซื้อในรูปแบบของการสะสมหรืองานอดิเรก และมีความสุขที่ได้แสดงสิ่งของที่ตนสะสมให้ผู้อื่นได้ชม
4. ผู้ใช้บริการที่ติดการบริโภคบริการ เป็นพฤติกรรมของผู้ใช้บริการผสมระหว่างด้านวัตถุนิยม
และแบบเจาะจงรวมกัน แต่มีแนวโน้มการบริโภคที่ควบคุมตัวเองไม่ได้ อาจส่งผลเสียกับตนเองและ
คนรอบข้าง เช่น การนิยมท่องเที่ยวบ่อนการพนันและคาสิโนในวันหยุดเป็นประจำ หรือการนิยมใช้เวลา
ส่วนใหญ่ในชีวิตประจำวันด้วยการซื้อของในห้างสรรพสินค้าอย่างไม่เลือก (Shopaholic Behavior)
5. ผู้ใช้บริการที่มีอคติทางชาติพันธุ์ ผู้ใช้บริการที่มีบุคลิกภาพที่มีอคติทางชาติพันธุ์สูง จะมี
ความคิดและมีแนวโน้มจะปฏิเสธรับบริการ โดยเฉพาะจากกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีความขัดแย้งในประวัติศาสตร์
การเมืองร่วมสมัย และเศรษฐกิจ รวมทั้งมีความโน้มเอียงในการต่อต้านสินค้าและบริการจากต่างประเทศ
ความแตกต่างของนักท่องเที่ยวแต่ละคน
ปัจจัยที่ทำ ให้นักท่องเที่ยวมีความแตกต่างกัน
ความแตกต่างของนักท่องเที่ยวแต่ละคน พิจารณาได้จากปัจจัย 3 ข้อดังต่อไปนี้
วัฒนธรรม (Culture)
วัฒนธรรมของแต่ละประเทศไม่เหมือนกัน วัฒนธรรมมีความสำคัญในการหล่อหลอมความคิด
ความเชื่อของคนแต่ละชาติ ซึ่งจะส่งให้เป็นตัวกำ หนดพฤติกรรมหรือแนวทางปฏิบัติในชีวิตของคน
แต่ละชาติให้มีความเฉพาะที่แตกต่างกัน วัฒนธรรมเป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น ไม่ได้เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ
วัฒนธรรมเป็นมรดกของสังคมที่มีการพัฒนาปรับปรุงเปลี่ยนแปลงได้ เป็นแบบแผนในการดำ เนินชีวิต
ของบุคคลส่วนใหญ่ในสังคม เพื่อความเจริญในวิถีชีวิตส่วนรวม การพิจารณาคุณลักษณะของวัฒนธรรม
ดูได้จาก
1. วัฒนธรรมการกิน เกิดจากบุคคลส่วนใหญ่ในสังคมหรือชนชาตินั้นเลือกยึดถือปฏิบัติเป็น
ระยะเวลานาน จนมีการถ่ายทอดต่อ ๆ มา ดังตัวอย่างเช่น
1.1 ชาวตะวันตกบางชาติ มีการกินอยู่ซับซ้อน ยุ่งยาก และใช้เวลานาน อุปกรณ์ที่ใช้ใน
โต๊ะอาหารมีความพิถีพิถัน มีระเบียบวิธีการมาก เช่น การรับประทานอาหารดินเนอร์เต็มรูปแบบของชาว
อังกฤษ หรือฝรั่งเศส มีขั้นตอนการใช้จาน ช้อน ถ้วย แก้วแต่ละชุดเกือบ 20 ชิ้น
รูปที่ 5.3 การจัดวางดินเนอร์เต็มรูปแบบ
1.2 ชาวอเมริกันและชาวออสเตรเลีย ไม่พิถีพิถัน ไม่มีวัฒนธรรมการรับประทานอาหารที่
เป็นระเบียบขั้นตอนมากนัก
1.3 ชาวทางตะวันออก ไม่ใช้อุปกรณ์ในการรับประทานอาหารมากนัก ไม่มีขั้นตอนยุ่งยาก
ส่วนมากนิยมกินของร้อนๆ ของปรุงสุกใหม่ ๆ 2. วัฒนธรรมทางด้านครอบครัว
2.1 ชาวตะวันตกให้เกียรติผู้หญิง ดังจะเห็นได้จากมารยาททางสังคมจะให้เกียรติผู้หญิง
เช่น ผู้ชายต้องลุกขึ้นยืนขณะที่ผู้หญิงเดินมาที่ที่ผู้ชายนั่งอยู่ การเปิดปิดประตูรถให้ผู้หญิง การให้ที่นั่ง
แก่ผู้หญิงก่อน ความสัมพันธ์ระหว่างครอบครัวมีน้อย ส่วนใหญ่แต่งงานแล้วจะแยกครอบครัวออกไปหา
ที่อยู่เอง ไม่อยู่รวมกับพ่อแม่ เพื่อจะได้มีอิสระในการที่จะทำอะไร เป็นตัวของตัวเอง ดังนั้นชาวตะวันตก
มักจะอยู่ตามลำ พังในวัยชราไม่มีลูกหลานห้อมล้อม ขาดความอบอุ่นในครอบครัว
2.2 ชาติตะวันออก จะถือคติว่าผู้หญิงเป็นช้างเท้าหลัง เป็นแม่บ้านที่ทำ งานทุกอย่าง
โดยเฉพาะผู้หญิงตะวันออกกลางจะถูกกดขี่ มีชีวิตความเป็นอยู่คล้ายทาส ส่วนชนชาติเอเชียจะมีความผูกพัน
ในครอบครัวมาก มีความเคารพนับถือ ดูแลเอาใจใส่ญาติผู้ใหญ่มากกว่าชาวทางตะวันตก ชนชาติเอเซีย
จึงอยู่กันเป็นครอบครัวใหญ่ ศาสนา (Religion)
คำสอนทางศาสนาเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวด้านจิตใจของมนุษย์ ศาสนาจึงมีอิทธิพลต่อความคิด
ความเชื่อมั่น และการสร้างค่านิยมให้บุคคลในศาสนานั้น ๆ บนพื้นฐานที่คล้ายคลึงกัน และเป็นแบบอย่าง
ในการแสดงออกด้านพฤติกรรมของแต่ละศาสนา ดังพิจารณารายละเอียดได้ ดังนี้
1. ศาสนาอิสลาม จะไม่กินหมู อาหารทุกชนิดไม่มีส่วนประกอบของหมู ไม่ดื่มเหล้า ไม่เล่น
การพนัน ไม่ลักขโมย ประพฤติปฏิบัติตามหลักคำสอนของศาสนาอย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะในช่วงถือบวช
การได้ไปเคารพสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ทางศาสนาที่เมกกะ ถือว่าเป็นการสร้างบุญกุศลเป็นอย่างมาก
2. ศาสนาพุทธ สอนให้คนรู้จักผูกมิตร ให้อภัย มีความเอื้อเฟื้อ เผื่อแผ่ เคารพที่ความดีของคน
3. ศาสนาคริสต์ สอนให้คนรู้จักช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ ปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับของศาสดา
อย่างเคร่งครัด และจะถือโชคร้ายเรื่องเลข 13 จะเห็นได้จากห้องพักในโรงแรมจะไม่มีห้องเลข 13 ไม่มีชั้น 13
4. ศาสนายิว ปฏิบัติตามคำสอนของศาสนาอย่างเคร่งครัดมาก ไม่ว่าจะเป็นการปฏิบัติตน อาหาร
การรับประทานอาหาร เช่น อาหารโคเชอร์ (Kosher) คนอื่นจะเปิดอาหารก่อนไม่ได้ เจ้าของต้องเป็น
คนเปิดเอง
ภาษา (Language)
ภาษาของมนุษย์ในโลกที่มีความหลากหลายและแตกต่าง ทำให้ธุรกิจท่องเที่ยวและโรงแรมจำเป็น
ต้องมีบุคลากรที่มีความสามารถในการใช้ภาษาต่าง ๆ เพื่อสื่อสารทำความเข้าใจและให้ข้อมูลข่าวสารและ
ต้อนรับนักท่องเที่ยวได้ดีขึ้น และน่าประทับใจขึ้น ภาษาที่นอกเหนือจากคำพูดที่ใช้ในการติดต่อกันแล้วภาษายังรวมถึงการแสดงกิริยาอาการหรือท่าทาง (Body Language) ในการสื่อความหมาย ซึ่งแต่ละชาติ
จะมีภาษาท่าทางในการแสดงออกไม่เหมือนกัน เพราะได้รับการถ่ายทอดและปลูกฝังมาแตกต่างกัน
การแสดงออกทางน้ำเสียง กิริยาท่าทางของนักท่องเที่ยวเป็นการแสดงออกที่มีความเฉพาะแตกต่างกัน
ผู้ให้บริการควรเรียนรู้และศึกษาเพื่อใช้เป็นแนวทางในการตอบสนองความพึงพอใจต่อผู้ใช้บริการ เช่น
ชาวจีนมักพูดจาเสียงดังเหมือนทะเลาะกัน แต่อาจเป็นแค่การพูดคุยกันตามปกติ ชาวญี่ปุ่นแทบใช้ระดับเสียง
โทนเดียวกันตลอดไม่ว่าจะเป็นการแสดงความพอใจหรือไม่พอใจ เป็นต้น แม้แต่การผงกศีรษะที่แสดงออก
ถึงการตกลงและไม่ตกลงก็มีความหมายแตกต่างกันในบางประเทศ การเรียนรู้ถึงกิริยาท่าทางที่สื่อ
ความหมายของชาติต่าง ๆ นั้น นับว่ามีความสำคัญมากต่อการติดต่อสื่อสารกับนักท่องเที่ยวและธุรกิจ
บริการ
สรุปได้ว่า ความแตกต่างระหว่างบุคคลเป็นความจำเป็นที่ผู้ให้บริการต้องเรียนรู้ โดยเฉพาะ
นักท่องเที่ยวต่างชาติควรศึกษาปัจจัยในด้านวัฒนธรรม ศาสนา และภาษา ตลอดจนความแตกต่างด้าน
วัฒนธรรมการกินและวัฒนธรรมของครอบครัว
รูปที่ 5.4 ตัวอย่างการทักทายของแต่ละชาติ
การวิเคราะห์ลูกค้า (Customer Analysis)
ผู้ประกอบการธุรกิจที่ประสบความสำ เร็จต้องรู้ว่าลูกค้าของเราคือใคร แล้วลูกค้าเหล่านั้นต้องการอะไร
ต้องศึกษาพฤติกรรมของลูกค้าว่า อยู่ภูมิลำ เนาไหน ชอบอะไร ไม่ชอบอะไร เหตุผลอะไรที่ลูกค้าถึงซื้อ
ตามหลักการ 6W 1H ดังนี้
1. WHO - ใครคือลูกค้าของคุณ เป็นการศึกษาถึงลักษณะของลูกค้าของเราว่าเป็นใคร เพศชาย
หรือเพศหญิง อายุเท่าไร อาชีพอะไร รายได้เท่าไร รูปแบบการใช้ชีวิตเป็นอย่างไร ข้อมูลเหล่านี้จะช่วย
ให้เราวางแผนกลยุทธ์การตลาดด้านต่าง ๆ อย่างเหมาะสมและสามารถตอบสนองต่อความพึงพอใจของ
กลุ่มเป้าหมายได้
2. WHAT - อะไรคือสิ่งที่ลูกค้าต้องการ เป็นการวิเคราะห์ว่ากลุ่มลูกค้าของเราต้องการอะไร
เพื่อที่เราจะได้ผลิตหรือให้บริการ รวมทั้งสร้างองค์ประกอบผลิตภัณฑ์ หีบห่อ เพื่อตอบสนองต่อความ
ต้องการของลูกค้าเอง โดยจะต้องวิเคราะห์จุดเด่นของสินค้า สิ่งที่สามารถดึงดูดลูกค้าได้ ความแตกต่าง
จากคู่แข่ง สินค้าตรงต่อจุดประสงค์ของผู้ใช้หรือไม่ คุณสมบัติตัวสินค้าที่ตรงตามความต้องการ เพื่อจะนำ
ไปปรับปรุงหรือส่งเสริมสินค้าและบริการ รูปลักษณ์ของสินค้า คุณภาพสินค้า เพื่อสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง
รวมถึงสร้างความแตกต่างจากแบรนด์อื่น ๆ
3. WHERE - ลูกค้าซื้อที่ไหน คือ สถานที่ที่กลุ่มเป้าหมายมักชอบไปซื้อสินค้า ช่องทางที่ลูกค้า
ใช้ในการหาข้อมูลก่อนการตัดสินใจซื้อ เช่น ซื้อผ่านเว็บไซต์ ซื้อที่ตลาดขายสินค้าเฉพาะหรือห้างสรรพสินค้า
หากว่าเราทราบว่ากลุ่มเป้าหมายของเราซื้อสินค้าจากที่ไหน ก็จะทำ ให้เราสามารถกำ หนดกลยุทธ์ด้าน
การจัดจำ หน่ายและนำสินค้าไปสู่แหล่งตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4. WHY - ทำ ไมลูกค้าจึงตัดสินใจซื้อ เป็นการศึกษาผู้บริโภค หาเหตุผลว่าทำ ไมผู้บริโภคจึง
ตัดสินใจซื้อ เช่น ซื้อเพื่อตอบสนองตามความต้องการ ซื้อเพื่อตอบสนองตามปัจจัยพื้นฐาน หรือซื้อกระเป๋า
แบรนด์เนมเพื่อเข้าสังคม ต้องตอบคำถามกับตัวเองให้ได้ว่า เขาจะซื้อของเราเพื่ออะไร !!
5. WHEN - ลูกค้าซื้อเมื่อไร ลูกค้าจะซื้อสินค้าเมื่อไร ต้นเดือน ปลายเดือน หรือศุกร์ เสาร์
อาทิตย์ ช่วงเช้า ช่วงเย็น หรือช่วงเทศกาล ดังนั้น ธุรกิจต้องเตรียมความพร้อมในการให้บริการแก่ลูกค้า
เตรียมวัตถุดิบในการผลิต เพื่อป้องกันไม่ให้ลูกค้าของธุรกิจพบกับความผิดหวัง ตัวอย่างสำหรับสินค้า
ช่วงเทศกาล บางครั้งต้องจัดรายการโปรโมชั่นราคาห้องพักให้ต่ำลงเพื่อความอยู่รอดของธุรกิจ และช่วย
เพิ่มยอดขายให้ธุรกิจดำรงอยู่ต่อไป
6. WHOM - ใครมีส่วนร่วมในการตัดสินใจของลูกค้าต่อการซื้อสินค้า บางครั้งลูกค้าก็ไม่ได้ซื้อ
เพราะความต้องการของตนเองเพียงอย่างเดียว อาจมีบุคคลอื่นที่มีผลในการซื้อ อาจมีบุคคลอื่นที่มีผล
ครอบคลุมในการซื้อดังนี้
- ผู้ริเริ่ม คือ ผู้ที่มีความต้องการซื้ออะไรสักอย่าง แล้วบอกผู้อื่น่ให้ทำการซื้อ
- ผู้ที่แนะนำ คือ ผู้ที่มีส่วนในการเลือกตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ เช่น พี่ชายมีการแนะนำ ให้
ซื้อสินค้านี้
- ผู้ตัดสินใจ คือ ผู้ที่มีอำ นาจตัดสินใจซื้อหรือไม่ซื้อ บางครั้งอาจจะเป็นเครือญาติ พ่อ
และแม่
- ผู้ซื้อ คือ ใครก็ได้ที่มีเงินเพียงพอต่อการซื้อ
7. How - ลูกค้าตัดสินใจซื้ออย่างไร สินค้าที่ขายตามท้องตลาด ทำ ให้ลูกค้ามีการตัดสินใจ
ซื้อต่างกัน เช่น ถ้าสินค้าที่มีราคาสูง ลูกค้าอาจจะถามเรื่องการให้เครดิตของร้านค้า ถ้าขายเป็นเงินสด
ก็อาจจะปฏิเสธการซื้อสินค้านั่น ถ้าลูกค้าที่ชอบการลดราคาหรือรายการส่งเสริมการขาย ร้านค้าก็ควรจัด
รายการลดราคาหรือส่งเสริมการขายบ่อย ๆ
ดังนั้น อันดับแรกในการทำธุรกิจ คือ ต้องทำความเข้าใจลูกค้า ด้วยการวิเคราะห์พฤติกรรม
6Ws 1H เสียก่อน เพราะเป็นส่วนสำคัญมากในการตัดสินใจเลือกบริการของลูกค้า คือ ปัจจัยที่ทำ ให้
บุคคลมีความแตกต่างกัน
วัฒนธรรมกลุ่มคนในแต่ละชาติ
ภูมิหลังของนักท่องเที่ยวชาติต่าง ๆ ซึ่งในที่นี้เป็นการศึกษาข้อมูลจากนักท่องเที่ยวที่นิยม
มาท่องเที่ยวในประเทศไทย ได้แก่ จีน มาเลเซีย สิงคโปร์ ญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา และ
เยอรมนี
1. ชาวจีน ลักษณะนิสัยที่ประหยัด มัธยัสถ์ เอาการเอางาน มีเลือดรักชาติ ทะเยอทะยาน
ไม่กลัวความลำ บาก หนักเอาเบาสู้ แข็งแรง มีความคิดสร้างสรรค์ ชอบการค้าขาย กตัญญูรู้คุณ อ่อนน้อม
ถ่อมตน ขณะเดียวกันก็ไม่ยอมอ่อนข้อให้ใครเอาเปรียบ ขี้เหนียวไม่รู้จักพอ ชอบสูบบุหรี่ ชอบพูดจา
โหวกเหวก โวยวาย ขากเสลดบ่อย ชอบกินเสียงดังเพื่อให้รู้ว่าอร่อย รักครอบครัว ชอบอยู่พร้อมหน้า
พร้อมตากัน โดยพ่อจะเป็นใหญ่มากที่สุดในบ้าน มีอำ นาจตัดสินใจเด็ดขาด ชาวจีนจะชอบลูกผู้ชาย
มากกว่าลูกผู้หญิง
2. มาเลเซีย มีประชากรหลายเชื้อชาติอยู่รวมกัน ชนกลุ่มใหญ่ ได้แก่ มลายู แขกและจีน แต่ละ
เชื้อชาติจะมีภาษา ศาสนา ขนบธรรมเนียม ประเพณี และวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน มีศาสนาอิสลามเป็น
ศาสนาประจำชาติ แต่ก็อนุญาตให้ประกอบศาสนกิจตามศาสนาอื่น ๆ ได้ ชาวมาเลเซียมีอุดมการณ์แห่งชาติ
หรือหลักปัญจศีลประจำชาติ มีความศรัทธาในพระผู้เป็นพระเจ้า มีความจงรักภักดีต่อพระราชาธิบดี
สนับสนุนการปกครองในระบอบรัฐธรรมนูญ ปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับของกฎหมาย มีศีลธรรมจรรยา
และมีความประพฤติดี ชาวมลายูไม่ชอบการค้าขาย ชอบกิจกรรมการทอผ้า การจักสาน จึงทำ ให้การค้า
และเศรษฐกิจ ตกอยู่ในกำ มือของฝรั่ง แขก และจีนเป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากชาวมลายูนับถือศาสนาอิสลาม
ผู้ชายชาวมลายู จึงมีลักษณะเป็นผู้นำของครอบครัวในทุกด้าน เป็นผู้ตัดสินใจในทุกเรื่อง มีผู้หญิงเป็น
ช้างเท้าหลัง ชาวจีนในมาเลเซียยึดวันคริสต์มาสเป็นวันสำคัญที่สุด และวันตรุษจีนเป็นวันสำคัญรองลงมา
ภาษามาเลย์
3. สิงคโปร์ เป็นสังคมที่มีหลายเชื้อชาติอยู่รวมกัน มีภาษา ขนบธรรมเนียม ประเพณีและ
วัฒนธรรมที่แตกต่าง แต่ละชนชาติก็รักษารูปแบบของศิลปวัฒนธรรม ตลอดจนการแต่งกายของตนเอง
จนไม่มีวัฒนธรรมประจำชาติที่แท้จริง ภาษาพูดก็มีความแตกต่างกัน ทำ ให้สิงคโปร์ใช้ภาษาติดต่อราชการ
ถึง 4 ภาษา คือ ภาษามาเลย์ ภาษาจีน (แมนดาริน) ภาษาทมิฬ และภาษาอังกฤษ ชาวสิงคโปร์ส่วนใหญเป็นภาษาที่ใช้ในราชการ ส่วนภาษาอังกฤษใช้กันแพร่หลายในวงการค้าและอุตสาหกรรมเป็นคนที่มีระเบียบวินัย เคารพกฎหมาย และถ่อมตน ทำงานอย่างจริงจัง เป็นนักอนุรักษ์นิยม รักธรรมชาติ
และถูกปลูกฝังให้รักษาความสะอาดมาตั้งแต่เด็ก ๆ พลเมืองที่เป็นวัยรุ่นจะมีลักษณะรุนแรง มีความ
ทะเยอทะยานสูง และนิยมการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่รวดเร็ว
4. ญี่ปุ่น ส่วนใหญ่นับถือศาสนาชินโต ซึ่งเป็นศาสนาเก่าแก่ของญี่ปุ่นที่มีส่วนสำคัญในการปลูกฝัง
ความคิด ทำให้คนญี่ปุ่นรักครอบครัวและเคารพบรรพบุรุษ คนที่อยู่ในครอบครัวต้องเคารพ กตัญญูกตเวที
และเชื่อฟังหัวหน้าครอบครัว คนที่อ่อนกว่าต้องเชื่อฟังคนที่อาวุโสกว่า ถ้าอายุเท่ากัน หญิงต้องเชื่อฟังผู้ชาย
คนญี่ปุ่นเป็นคนกล้าหาญ ทำอะไรจริงจัง คนญี่ปุ่นอีกกลุ่มนับถือศาสนาขงจื๊อ ซึ่งสอนว่าการเป็นคนดีต้อง
มีความจริงใจ ถ่อมตน ประหยัด ไม่สุรุ่ยสุร่าย ระวังกิริยา ไม่พูดอย่างไร้สาระ ทำให้คนญี่ปุ่นไม่พูดมาก
ไม่ชอบการล้อเล่น เพราะกลัวจะเสียมารยาท นี่เป็นลักษณะสำคัญอีกอย่างของคนญี่ปุ่นในปัจจุบัน ทำให้
คนต่างชาติไม่ค่อยเข้าใจว่าคนญี่ปุ่นคิดอย่างไร การไม่ค่อยพูดจาหรือไม่แสดงความรู้สึกออกทางหน้าตา
ทำให้คนต่างชาติไม่ค่อยเข้าใจว่าคนญี่ปุ่นพอใจหรือไม่พอใจ ชอบหรือไม่ชอบ นอกจากนี้ ภัยธรรมชาติ
ต่าง ๆ เช่น ภูเขาไฟระเบิด แผ่นดินไหว ทำให้คนญี่ปุ่นมีความอดทน ระมัดระวังสูง และมีแบบแผนใน
การดำเนินชีวิต คนญี่ปุ่นจะสอนลูกหลานให้รู้จักอดทนและมีการวางแผนล่วงหน้าอย่างรัดกุม ความลำบาก
จากผลของสงครามโลกที่ญี่ปุ่นต้องรับผิดชอบชดใช้ค่าเสียหายให้ฝ่ายชนะสงคราม เป็นความบีบคั้นทาง
เศรษฐกิจสำคัญที่ทำให้คนญี่ปุ่นมีความคิดที่จะต้องร่วมมือกันทำงาน ขยัน อดทน ส่งผลให้คนญี่ปุ่นสามารถ
ทำงานเป็นทีมได้ดีเยี่ยม เนื่องจากมีความสามัคคีและมีความเป็นชาตินิยมสูง ลักษณะนิสัยของชาวญี่ปุ่น
มีความสุภาพ เรียบร้อย นิ่มนวล มั่นใจในตัวเองสูง มีความรับผิดชอบสูงมาก ชาตินิยม มีระเบียบวินัยใน
ตนเองสูง ตรงต่อเวลา ประหยัด มีความคิดสร้างสรรค์ ชอบผลิตของแปลก ๆ หัวก้าวหน้า มีความสามัคคี
ทะนงตน ไม่ก้มหัวให้ใครง่าย ๆ ใจเด็ด
5. อังกฤษ ประกอบด้วยคนหลายเชื้อชาติ ได้แก่ ชาวเวลส์ ชาวสกอต ชาวอังกฤษ และชาว
ไอร์แลนด์ แม้ว่าคนเหล่านี้จะอยู่รวมกันในประเทศเดียวกัน แต่ยังคงยึดถือขนบธรรมเนียม ประเพณี
และความเชื่อถือ ตลอดจนความเป็นเอกลักษณ์ของชนชาติของตน เช่น ชาวสกอต มีลักษณะเงียบขรึม
จนเป็นที่รู้จักกันทั่วไป โดยเฉพาะชาวสกอตที่เป็นชาวภูเขาเป็นคนที่เงียบขรึมที่สุด ดำ รงชีวิตอยู่ตาม
สภาพที่ต้องตรากตรำ ทำ งานหนัก ต้องผจญกับความลำ บากในภูมิประเทศที่ตนอาศัยทำ มาหากิน ทำ ให้
ชาวสกอตส่วนใหญ่เป็นคนตระหนี่ ประหยัด ส่วนชาวเวลส์มีนิสัยร่าเริง สนุกสนาน ช่างพูด ในขณะที่ชาว
ไอร์แลนด์เป็นคนจริงจัง หัวรุนแรง แต่ภาพรวมของคนอังกฤษเป็นคนที่มีระเบียบ รักสวยรักงาม แต่งตัว
เรียบร้อย การรับประทานอาหารต้องมีกฎเกณฑ์ มีมารยาทในการรับประทานอาหาร การเข้าร่วมโต๊ะ
อาหารต้องแต่งตัวให้เรียบร้อย มีระเบียบการจัดโต๊ะอาหาร การใช้ช้อนส้อม การใช้แก้วตามชนิดของ
เครื่องดื่ม การเสิร์ฟอาหารจะต้องเรียงตามลำดับทีละอย่าง นอกจากนี้ คนอังกฤษส่วนมากชอบกีฬา เช่น
การแข่งม้า การแข่งขันฟุตบอล การเล่นคริกเก็ต เป็นต้น รู้จักใช้ไหวพริบในการแก้ปัญหา ไม่ตื่นเต้นง่าย
เป็นคนประหยัด และสุขุมรอบคอบ ทำอะไรมีพิธีรีตองจนเป็นที่กล่าวกันว่า “ผู้ดีอังกฤษ” จากลักษณะนิสัย
เหล่านี้ทำ ให้ภาษาอังกฤษของคนอังกฤษก็มีกฎเกณฑ์ และระเบียบมากกว่าภาษาอังกฤษของประเทศอื่น
และคนอังกฤษจะดูถูกดูหมิ่นคนที่พูดภาษาอังกฤษไม่ถูกไวยากรณ์หรือไม่ถูกสำ เนียง
6. สหรัฐอเมริกา มีความเป็นอยู่อย่างง่าย ๆ ทุกคนทั้งหญิงหรือชายช่วยกันทำงานบ้าน ไม่มี
การจ้างคนทำงานบ้าน แต่จะมีเครื่องผ่อนแรง เช่น เครื่องซักผ้า เครื่องล้างจาน เป็นต้น อาหารที่
รับประทานก็จะทำอย่างง่าย ๆ โดยไม่ให้ต้องเสียเวลาหุงต้มนาน แต่คำนึงถึงคุณภาพของอาหารมากกว่า
อาหารที่เป็นที่นิยมแพร่หลาย ได้แก่ แฮมเบอร์เกอร์ และพิซซ่า ชาวอเมริกันส่วนใหญ่มีที่อยู่อาศัยเป็น
สัดส่วนในอาคารหลังเดียวกันบ้าง อยู่บ้านเดี่ยว ๆ เป็นเอกเทศบ้าง ตามเมืองใหญ่ ๆ จะมีอาคารสงเคราะห์
ที่จัดสร้างขึ้นเพื่อสงเคราะห์คนมีรายได้ระดับต่าง ๆ มากมาย คนอเมริกันส่วนมากจะหาความสะดวกสบาย
ในการดำรงชีพอย่างทันสมัย มีอุปกรณ์ทุ่นแรง และมีรถยนต์ส่วนตัวใช้เอง ชาวอเมริกันนิยมดนตรีทุกชนิด
ชอบชมละครโอเปรา ละครดนตรี ระบำ บัลเล่ย์ และดูคอนเสิร์ต โปรดปรานกีฬาว่ายน้ำ ขี่จักรยาน
เล่นเรือ เล่นสเก็ต สกีในฤดูหนาว และกีฬาที่ใช้ลูกบอล
7. เยอรมนี มีลักษณะนิสัยตรงไปตรงมา จริงใจ ไม่ชอบเอาเปรียบใคร และไม่ชอบให้ใครมา
เอาเปรียบ มีความรอบคอบในการใช้เงินสูง รู้จักใช้รู้จักเก็บ มีการวางแผนชีวิตที่ดี เป็นชนชาติที่ขยัน
ประหยัด เป็นนักค้นคว้า ทุ่มเท และมีความอดทนสูง ภายหลังจากการประกาศยอมแพ้สงครามอย่าง
ไม่มีเงื่อนไขในสงครามโลกครั้งที่ 2 จากสภาพบ้านเมืองที่ถูกทำลายยับเยิน ชาวเยอรมันได้สร้างสหพันธ์
สาธารณรัฐเยอรมันที่แข็งแกร่งขึ้นมา ซึ่งมีผลทำให้เศรษฐกิจของประเทศเยอรมันรุ่งเรืองที่สุดประเทศหนึ่ง
ในโลกในเวลาต่อมา ชาวเยอรมันเป็นคนจริงจัง เป็นคนที่มีอารมณ์อ่อนไหวง่าย ชอบสนุกสนาน ชอบเดินทาง
เนื่องจากภูมิประเทศประกอบไปด้วยภูเขา แม่น้ำ ทะเลสาบ ป่าอันงดงาม และในเยอรมันมีวันหยุดมาก
เวลาทำงานน้อย นิยมท่องเที่ยวแบบบุกป่าฝ่าดงเป็นกลุ่ม ในเยอรมันจะมีบ้านพักเยาวชนราคาถูกไว้
บริการ นับเป็นประเทศแรกที่จัดขึ้นเพื่อให้โอกาสเยาวชนได้เดินทางไปค้างคืน นอกจากจะท่องเที่ยว
ภายในประเทศแล้ว ชาวเยอรมันส่วนใหญ่ยังนิยมการเดินทางท่องเที่ยวต่างชาติด้วย ชาวเยอรมันเป็น
คนรักอิสระและชอบช่วยเหลือตนเอง รักความสะอาด ยกย่องคนมีอำนาจ มีความเป็นมิตรกับชาวต่างชาติ
และชอบแสดงความยินดีออกทางสีหน้า เหนือสิ่งอื่นใดความภูมิใจในประเทศของตน
ลักษณะวัฒนธรรมของต่างชาติ
ลักษณะวัฒนธรรมของนักท่องเที่ยวในบทนี้จะกล่าวถึงนักท่องเที่ยวชาติที่นิยมมาประเทศไทย
มากที่สุดตามลำดับ ได้แก่ จีน มาเลเซีย สิงคโปร์ ญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา และเยอรมนี
1. สาธารณรัฐประชาชนจีน ชื่อของชาวจีนเรียกขึ้นต้นด้วยชื่อสกุล ชื่อตัวใช้เรียกกันในหมู่ญาติ
และเพื่อนสนิท วัฒนธรรมการทักทายของชาวจีน การเชื้อเชิญ ลักษณะวัฒนธรรมจีนที่สำคัญมีดังนี้
1.1 ศาสนาและความเชื่อตามลัทธิเดิม คือ ลัทธิเต๋าและลัทธิขงจื๊อเน้นหลักจริยธรรม
ส่วนพุทธศาสนานั้นจีนเพิ่งรับมาจากอินเดียในช่วงคริสต์ศตวรรษแรก เมื่อจีนเปลี่ยนการปกครองในยุค
คอมมิวนิสต์ ศาสนาถูกหาว่าเป็นปฎิปักษ์ต่อลัทธิทางการเมือง นอกจากนี้ ชาวจีนยังมีความเชื่อในเรื่อง
ตัวเลขนำโชค หมอดู และการพยากรณ์ เชื่อเรื่องฮวงจุ้ย ทิศ น้ำและลมใช้ดึงดูดโชคลาภและปัดเป่า
เคราะห์ร้าย รวมทั้งความเชื่อเรื่องการออกแบบ ฤกษ์ยาม การตกแต่ง จัดวางสิ่งของมงคลในบ้านหรือ
สำนักงาน
1.2 เทศกาลพื้นบ้านของจีน ได้แก่ เทศกาลตรุษจีนจะใช้วันตามปฏิทินทางจันทรคติ
เป็นหลัก ดังนั้น จึงมีวันที่เปลี่ยนไปเรื่อยๆ ในแต่ละปี ส่วนวันหยุดราชการจะยึดตามปฏิทินสากล ได้แก่
1 มกราคมเป็นวันขึ้นปีใหม่ กุมภาพันธ์ส่วนใหญ่จะมีวันตรุษจีน 8 มีนาคมเป็นวันสตรีสากล 1 พฤษภาคม
เป็นวันแรงงานสากล 4 พฤษภาคมเป็นวันเยาวชน 1 มิถุนายนเป็นวันเด็ก 1 กรกฎาคมเป็นวันก่อตั้ง
พรรคคอมมิวนิสต์ 1 สิงหาคมเป็นวันชาติ หรือวันก่อตั้งกองทัพปลดปล่อยประชาชน เป็นต้น
1.3 อักษรภาษาเขียน เป็นเครื่องมือ
สืบทอดประวัติศาสตร์จีนจึงมีความสำคัญกว่าภาษาพูด
ภาพเขียน ศิลปะการวาดภาพของจีนมีความสัมพันธ์
แนบแน่นกับศิลปะการเขียนอักษร
1.4 เครื่องกระเบื้องเคลือบ กลุ่มแม่นำ้
หวงเหอและฉางเจียงเป็นแหล่งกำเนิดภาชนะดินเผา
ลายหวี ลายเชือกสีแดงและสีดำ แหล่งอารยธรรม
หยางเส้ากับหลงซาน มีความหลากหลายโดยใช้สีแดง
ดำและน้ำตาลเป็นหลัก ภาชนะดินเผาลายหน้ากากมนุษย์และปลาที่มีผิวบาง แข็งแกร่ง เคลือบด้วย
ดินเหนียวสีขาวและทรายชั้นดี ยุคราชวงศ์ฮั่นได้มีการทำเครื่องเคลือบสีเทาอ่อน ผิวเหลือบเขียวเป็นมันวาว
ขึ้นที่เมืองเยวโจว ยุคราชวงศ์ยวน ได้มีการนำเทคนิคจากตะวันออกใกล้มาใช้เขียนลวดลายใต้ผิวเคลือบ
ให้เป็นสีน้ำเงินสด ยุคต้นราชวงศ์ชิง เครื่องเคลือบสีฟ้า - ขาว เป็นต้น
1.5 เครื่องหยก หยกจัดเป็นอัญมณีมีค่าของจีน และเป็นหนึ่งในงานฝีมือที่ได้รับการ
พัฒนาขึ้นจนถึงขั้นสุดยอดมาแต่ครั้งโบราณ มีตำ นานเล่าว่าเมื่อผานกู่สิ้นชีพ ลมหายใจของท่านได้กลายเป็น
สายลมกับหมู่เมฆ เนื้อหนังกลายเป็นดิน ไขกระดูกกลายเป็นหยกและไข่มุก ชาวจีนจึงเชื่อว่าหยกมีทั้ง
ความงามและอำ นาจวิเศษ คนโบราณเคยใช้หยกประกอบพิธีศาสนา ก่อนนำ มาใช้เป็นเครื่องประดับ
1.6 อาหารจีน จีนเป็นชนชาติที่ผูกพันแนบแน่นอยู่กับอาหารการกิน ปัญหาทุพภิกขภัย
ทำให้ชาวจีนต้องคิดหาวิธีใช้ และถนอมอาหาร นอกจากนี้ชนชั้นสูงยังใช้อาหารเป็นเครื่องแสดงออกซึ่ง
ความมั่งคั่งและสถานภาพ อุปกรณ์สำคัญในการทำครัวของชาวจีนมีอยู่ 4 อย่าง คือ เขียง มีด กระทะก้นกลม
และตะหลิว อาหารจีนจะต้องถึงพร้อมทั้งสีสัน รสชาติ และหน้าตา สิ่งสำคัญคือ ส่วนประกอบต่าง ๆ
จะต้องกลมกลืนเข้ากันได้กับเครื่องปรุงรสจำพวกซีอิ๊ว กระเทียม ขิง น้ำส้ม น้ำมันงา แป้งถั่วเหลือง และ
หอมแดง
2. มาเลเซีย ประกอบด้วยพลเมืองหลายเชื้อชาติอยู่รวมกัน แต่ละเชื้อชาติก็มีภาษา ศาสนา
ขนบธรรมเนียมประเพณี และวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน โดยบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญให้ศาสนาอิสลาม
เป็นศาสนาประจำชาติ แต่การประกอบศาสนกิจตามศาสนาอื่น ๆ ก็ได้รับอนุญาตเช่นกัน ชาติที่สำคัญ
ได้แก่ มลายู แขกและจีน ชาวมาเลเซียมีอุดมการณ์แห่งชาติหรือหลักปัญจศีลประจำชาติ ดังนี้
2.1 มีความศรัทธาในพระผู้เป็นพระเจ้า
2.2 มีความจงรักภักดีต่อพระราชาธิบดี
2.3 สนับสนุนการปกครองในระบอบรัฐธรรมนูญ
2.4 ปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับของกฎหมาย
2.5 มีศีลธรรมจรรยาและมีความประพฤติดี
เนื่องจากประชาชนส่วนใหญ่ของมาเลเซียเป็นชาวมาเลย์หรือชาวมาลายู ชาวจีนและแขก ซึ่งทั้ง
3 ชาตินี้มีขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม ตลอดจนศาสนาไม่เหมือนกัน จึงทำ ให้การกระทบกระทั่ง
กันมาโดยตลอด ทั้ง ๆ ที่ชาวมาเลย์เป็นเจ้าของประเทศ แต่อำ นาจทางเศรษฐกิจส่วนใหญ่อยู่ในมือของ
คนจีน ภาษามาเลย์เป็นภาษาราชการ ส่วนภาษาอังกฤษใช้กันแพร่หลายในวงการค้าและอุตสาหกรรม
3. สิงคโปร์ มีลักษณะโครงสร้างทางสังคมเป็นแบบพหุสังคม (Multi Society) เป็นสังคมที่
มีหลายเชื้อชาติอยู่รวมกัน มีภาษา ขนบธรรมเนียม ประเพณีและวัฒนธรรมที่แตกต่าง นอกจากนี้ ยังมี
ศาสนาต่าง ๆ กันออกไปตามเชื้อชาติของคนในชาติที่มีหลากหลาย ได้แก่ ชาวมาเลย์ จีน อินเดีย อาหรับ
และยุโรป ที่อพยพเข้าไปตั้งถิ่นฐานอยู่ในสิงคโปร์จำ นวนมาก จากนโยบายให้คนเข้าเมืองได้อย่างเสรี
ในช่วงที่อังกฤษเข้าไปปกครองสิงคโปร์
ชาติเหล่านี้ต่างก็นำ เอาศิลปวัฒนธรรมของตนเข้ามาด้วย สิงคโปร์จึงเป็นศูนย์รวมวัฒนธรรมของ
ชนต่างชาติ ต่างภาษามากมาย มีอาหารหลายแบบ มีงานฉลองเทศกาลของชนแต่ละเชื้อชาติวนเวียนไป
ตลอดปี แต่ละชนชาติต่างก็รักษารูปแบบของศิลปวัฒนธรรมและการแต่งกายของตนเอง จนกลายเป็น
ความผสมกลมกลืนจนไม่มีวัฒนธรรมของชนชาติใดเป็นวัฒนธรรมประจำชาติ ด้านภาษาพูด สิงคโปร์ยังใช้
ภาษาติดต่อราชการได้ถึง 4 ภาษา คือ ภาษามาเลย์ ภาษาจีน (แมนดาริน) ภาษาทมิฬ และภาษาอังกฤษ
รัฐบาลสิงค์โปร์พยายามสร้างเอกลักษณ์ใหม่ โดยให้คนทุกเชื้อชาติที่อาศัยอยู่ในสิงคโปร์ให้ถือเป็นชาวสิงคโปร์
(Singaporean) เหมือนกันหมด ชาวสิงคโปร์เป็นคนที่มีระเบียบวินัยและมีมาตรฐานการครองชีพสูงเป็น
อันดับ 2 ในย่านเอเชียรองจากญี่ปุ่น ประชาชนส่วนใหญ่เป็นชาวจีน แต่ด้วยความเป็นชาติที่ขยันขันแข็ง
และมีนิสัยรักการค้าขายจึงทำ ให้ชาวจีนที่อพยพเข้าไปอยู่ในสิงคโปร์กลายเป็นผู้มีอิทธิพลทางการค้า
เป็นเจ้าของกิจการธุรกิจ เป็นนายธนาคาร เจ้าของโรงแรม ส่วนชาวอินเดียกลับกลายเป็นผู้ใช้แรงงาน
ประกอบอาชีพเป็นกรรมกร ชาวมาเลย์ประกอบอาชีพเกษตรกรรม
4. ญี่ปุ่น (日本 Nihon/Nippon นิฮง/นิปปง) ชื่อประเทศญี่ปุ่นเป็นตัวอักษรคันจิ แปลว่า
ถิ่นกำ เนิดของดวงอาทิตย์ จึงถูกเรียกว่า ดินแดนแห่งอาทิตย์อุทัย วัฒนธรรมญี่ปุ่นมีวิวัฒนาการ มายาวนานตั้งแต่วัฒนธรรมยุคโจมง จนถึงวัฒนธรรมผสมผสานร่วมสมัยซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากเอเชีย ยุโรป
และอเมริกาเหนือ พอสรุปได้ดังนี้
4.1 งานฝีมือศิลปะดั้งเดิมของญี่ปุ่น เช่น อิเกะบะนะ โอะริงะมิ อุกิโยะ-เอะ ตุ๊กตาเครื่องเคลือบ
เครื่องปั้นดินเผา การแสดง เช่น คะบุกิ โน บุนระกุ ระกุโงะ และประเพณีการละเล่น พิธีชงชา ศิลปะ
การต่อสู้ สถาปัตยกรรม การจัดสวน ดาบ และอาหาร การผสมผสานระหว่างภาพพิมพ์กับศิลปะตะวันตก
นำ ไปสู่การสร้างสรรค์งานมังงะหรือหนังสือการ์ตูนของญี่ปุ่น ซึ่งที่เป็นที่นิยมทั้งในและนอกญี่ปุ่น การ์ตูน
เคลื่อนไหวหรือแอนิเมชันได้รับอิทธิพลมาจากมังงะ เรียกว่า อะนิเมะ
4.2 ดนตรี การเล่นโคะโตะและชะมิเซ็งเป็นเครื่องดนตรีที่ดัดแปลงจากเครื่องดนตรีโอะกินะวะ
เพลงพื้นบ้าน เช่น เพลงที่ร้องระหว่างการเต้นบงโอะโดะริ เพลงกล่อมเด็ก นอกจากนี้ ญี่ปุ่นยังได้รับ
อิทธิพลทางด้านดนตรีสมัยใหม่จากสหรัฐอเมริกาและยุโรป ก่อให้เกิดแนวดนตรีที่เรียกว่า เจ-พอป
4.3 วรรณกรรม วรรณกรรมญี่ปุ่นชิ้นแรก คือ หนังสือประวัติศาสตร์ โคะจิกิ นิฮงโชะกิ
และหนังสือบทกวีมังโยชู ซึ่งเขียนด้วยภาษาจีนทั้งหมด นิทานคนตัดไม้ไผ่ งานที่เก่าแก่ที่สุดที่เขียนด้วย
ภาษาญี่ปุ่น ตำ นานเกนจิที่เขียนโดยมุระซะกิ ชิกิบุเป็นวรรณกรรมชิ้นแรกของโลก
4.4 กีฬา การแข่งขันซูโม่ในเรียวโงกุ โคกุงิกัง ในโตเกียว
4.5 อาหาร อาหารเช้าแบบโรงแรมญี่ปุ่น ชาวญี่ปุ่นกินข้าวเป็นอาหารหลัก อาหารญี่ปุ่นที่
มีชื่อเสียง ได้แก่ ซูชิ เทมปุระ สุกียากี้ ยากิโทริและโซบะ เอกลักษณ์ในอาหารญี่ปุ่น คือ ถั่วเหลือง ซึ่งนำ
มาทำ โชยุ มิโสะ เต้าหู้ถั่วแดงซึ่งมักนำ มาทำขนมและสาหร่ายชนิดต่าง ๆ เช่น คอมบุ นอกจากนี้ ชาวญี่ปุ่น
ยังนิยมกินซะชิมิหรืออาหารทะเลดิบอีกด้วย
4.6 ชา ในญี่ปุ่นมีหลายชนิดซึ่งแตกต่างไปตามกรรมวิธีการผลิตและส่วนผสมเครื่องดื่ม
4.7 แอลกอฮอล์ที่มีต้นกำ เนิดจากญี่ปุ่น คือ เหล้าสาเก (หรือนิฮงชุ ในภาษาญี่ปุ่น) ผลิต
โดยใช้วิธีหมักข้าว และโชชูซึ่งเป็นเหล้าที่เกิดจากการกลั่น
5. สหราชอาณาจักรหรืออังกฤษ (United Kingdom of Great Britain and Northern
Ireland) อังกฤษประกอบด้วย คนหลายเชื้อชาติ ได้แก่ ชาวเวลส์ ชาวสกอต ชาวอังกฤษ และชาวไอร์แลนด์
ถึงแม้ว่าคนเหล่านี้จะอยู่รวมกันอยู่ในประเทศเดียวกัน แต่ยังคงยึดถือขนบธรรมเนียมประเพณีและ
ความเชื่อถือตลอดจนความเป็นเอกลักษณ์ของชนชาติของตน เช่น ชาวสกอต มีลักษณะเงียบขรึม ตระหนี่
ถี่เหนียว ส่วนชาวเวลส์เป็นคนร่าเริงสนุกสนาน ช่างพูด ชาวไอร์แลนด์เป็นคนจริงจัง หัวรุนแรง
6. สหรัฐอเมริกา เป็นประเทศมหาอำ นาจยิ่งใหญ่ประเทศหนึ่งในโลก ทั้งในด้านเศรษฐกิจ
การศึกษา วิทยาศาสตร์ การอุตสาหกรรมและการทหาร ความมั่นคงของสหรัฐอเมริกาเกิดได้ด้วยสาเหตุ
ใหญ่ ๆ 3 ประการ คือ
6.1 ความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่
6.2 ความสามารถของประชากรในการใช้ทรัพยากรธรรมชาติให้เกิดประโยชน์
6.3 ความสามารถของคนอเมริกันในการรวมเป็นชาติหนึ่งชาติเดียวกัน ทั้งที่สืบเชื้อสาย
มาจากชาติต่าง ๆ ทำ ให้สหรัฐอเมริกาเป็นปึกแผ่นมั่นคงจนทุกวันนี้
ชาวอเมริกันนิยมดนตรีทุกชนิด ชอบไปชมละคร ละครโอเปรา ละครดนตรี ระบำ บัลเลย์ และ
ฟังคอนเสิร์ตกันมาก ส่วนกีฬาที่โปรดปราน ได้แก่ ว่ายนำ้ ขี่จักรยาน เล่นเรือ เล่นสเก็ต สกีในฤดูหนาว และ
กีฬาใช้ลูกบอลทุกประเภท ประชากรส่วนมากมีประกันการป่วยไข้เพื่อช่วยค่ารักษา โรงพยาบาลหลายแห่ง
ให้การรักษาพยาบาลฟรีแก่ผู้ไม่มีกำลังทรัพย์ ชาวอเมริกันเป็นชาติที่รักอิสรเสรีมากประเทศหนึ่งและ
ระบบการปกครองเปิดโอกาสให้ชาวอเมริกันมีสิทธิ์แสดงความคิดเห็นอย่างกว้างขวาง เป็นชาติที่คำนึงถึง
สิทธิมนุษยชนมากที่สุด ชอบให้เป็นที่รู้จักของผู้อื่น เป็นคนจริงจัง เมื่อตั้งใจจะทำอะไรแล้วจะต้องทำให้
สำเร็จได้ไม่ยาก ดังนั้น ชาวอเมริกันจึงคิดประดิษฐ์สิ่งต่าง ๆ มากมาย ตั้งแต่เรื่องการเดินทางไปพระจันทร์
การสร้างดาวเทียม การสื่อสารผ่านระบบอินเทอร์เน็ต ฯลฯ
7. เยอรมนี มารยาททางสังคมของชาวเยอรมันใช้การจับมือเป็นวัฒนธรรมสำคัญในการพบกัน
ครั้งแรก และการพบปะการประชุม ส่วนความสัมพันธ์ในรูปแบบเพื่อนจะใช้การจูบแก้ม 2 ข้างเบา ๆ ใน
ขณะที่เจอกัน ภาษาเยอรมันจะมีทั้งในรูปแบบที่เป็นทางการ ‘Sie’ และในรูปแบบที่ไม่เป็นทางการ ‘du’
เช่น การแนะนำตัวเอง ในรูปแบบเป็นทางการ ‘Sie’ จะแนะนำชื่อและนามสกุล หรือเฉพาะนามสกุล
เท่านั้น แต่การแนะนำ เฉพาะชื่อแรกจะอยู่ในรูปแบบไม่เป็นทางการ ‘du’ ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของ
สถานการณ์ คำ นำ หน้าชื่อนอกจาก Herr (Mr.) และ Frau (Ms.) แล้ว นอกจากนี้ ยังใช้คำ นำ หน้าชื่อที่
แสดงถึงการศึกษาและฐานะเป็นวัฒนธรรมที่สำคัญของชาวเยอรมัน โดยเฉพาะเมื่อต้องแนะนำคนอื่น ซึ่ง
เป็นสิ่งสำคัญ เช่น Herr Dr.Kanjar หรือ Frau Prof. Jeng Venka
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น